ทำความรู้จักกับวัสดุอุดฟัน

Wednesday, September 27, 2017 12:10 PM

การอุดฟันเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่มีฟันผุหรือบิ่น โดยทันตแพทย์จะทำการซ่อมแซมบริเวณนั้นด้วยวัสดุอุดฟันต่างๆ เช่น วัสดุ อมัลกัม วัสดุเรซินสีเหมือนฟัน อุดด้วยทอง และวัสดุเซรามิก

  • การอุดฟันด้วยทอง ซึ่งจะทำขึ้นในห้องปฏิบัติการ โดยอินเลย์ทองจะไม่ค่อยระคายเคืองเหงือก และอาจอยู่ได้นานถึง 20 ปีและด้วยเหตุนี้เอง หลายๆ คนจึงเลือกทองให้เป็นวัสดุอุดฟันที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การอุดฟันชนิดนี้มีราคาแพงที่สุด และต้องใช้เวลาพบทันตแพทย์หลายครั้ง ปัจจุบันการใช้ทองคำเป็นวัสดุบูรณะฟันลดปริมาณลงมาก เพราะวัสดุชนิดอื่นให้ความสวยงามคล้ายฟันจริงมากกว่า นอกจากนี้ทองคำยังมีราคาแพง แม้จะมีอายุการใช้งานยาวนานก็ตาม
  • การอุดฟันด้วยอมัลกัม (เงิน) เป็นวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นโลหะ คือ เงิน ดีบุกและทองแดงรวมกันอยู่ในรูปของโลหะผสมหรืออัลลอย (alloy) เวลาใช้ก็ผสมกับปรอทบริสุทธิ์ 99.99 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ได้วัสดุที่มีลักษณะนุ่ม นำไปใส่ในโพรงฟันที่กรอแต่งไว้ นิยมใช้อุดในบริเวณที่ต้องรับแรงบดเคี้ยว เช่น ฟันหลัง เพราะวัสดุชนิดนี้มีความแข็งสูง ทนทานต่อการสึกกร่อน แต่มีข้อเสียคือ สีไม่เหมือนสีฟันธรรมชาติเพราะมีสีเงิน วัสดุชนิดนี้จะแข็งตัวได้เอง เป็นการอุดฟันที่ค่อนข้างคนทนและราคาไม่แพง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัสดุนี้มีสีเข้ม จึงมองเห็นได้เด่นชัดกว่าพอซเลนหรือคอมโพสิต และไม่ถูกเลือกใช้กับบริเวณที่เห็นได้ง่าย เช่น ฟันหน้า
  • การอุดฟันคอมโพสิต (พลาสติก) เรซิน นิยมใช้กันมากเพราะมีสีสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ มีความแข็งพอควร เป็นวัสดุที่ดูเป็นธรรมชาติ สีเหมือนฟัน  ซึ่งวัสดุคอมโพสิตนี้อาจจะไม่สามารถใช้อุดฟันในบริเวณกว้างได้ ใช้อุดฟันหลังที่รับแรงบดเคี้ยวไม่มากนัก เนื่องจากมีการหักอละเสื่อมได้เมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ยังเป็นคราบจากชา กาแฟ หรือยาสูบได้ และไม่คงทนเท่ากับวัสดอื่นๆ โดยสามารถอยู่ได้ประมาณ 10 ปี
  • การอุดฟันเวยด้วยพอซเลน หรือเรียกว่า อินเลย์ หรือ ออนเลย์ เป็นวัสดุเซรามิกมีความแข็ง และเปราะมาก จึงมีผลให้ฟันคู่สบ (opposing teeth) เกิดการสึกหรอได้ง่าย เป็นวัสดุทำขึ้นภายในห้องปฏิบัติการและนำมาเชื่อมต่อกับฟัน สามารถทำสีให้เข้ากับสีฟันของคุณได้ และมีความทนทานต่อคราบ การอุดฟันด้วยพอซเลนมักจะครอบคลุมเนื้อที่ฟันส่วนใหญ่ ราคาประมาณเดียวกับการอุดฟันด้วยทอง ทั้งนี้ทันตแพทย์ไม่แนะนำให้ใช้พอร์ซเลนอุดฟันโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันบด เคี้ยวอย่าง ฟันกราม

สำหรับใครที่มีปัญหาฟันผุ ไม่รู้จะอุดฟันด้วยวัสดุไหนดี หรือถ้าฟันผุ สามารถเข้ามาปรึกษาทันตแพทย์ได้ฟรีที่ ศูนย์ทันตกรรม PMDC หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอุดฟันคลิกได้ที่นี่ อุดฟัน

ข่าวอื่นๆ:

ดูทั้งหมด
ดูทั้งหมด

TESTIMONIAL

OUR REAL CUSTOMER

คนไข้บอกต่อ

ลูกค้าจริงของเรา

คุณเนาวรัตน์ ยุกตะนันท์

*ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

คุณปอย ตรีชฎา

*ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

คุณร่มฉัตร พัฒนศิริ

*ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

ดร.ผาณิต กันตามระ กับการทำฟันให้สวยงามที่PMDC

*ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

ศกรณ์ฉัฐ แจ้งเจนเวทย์ (คุณจิ๊บ)

*ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

หากคุณต้องการ
สร้างรอยยิ้มที่สวยงาม
PMDC ช่วยคุณได้

อ่านต่อ

CONTACT US

FREE CONSULTATION

ติดต่อเรา

ให้คำปรึกษาฟรี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

CAPTCHA
This question is for testing whether or not you are a human visitor and to prevent automated spam submissions.