- การจัดฟันระบบDamon
- การจัดฟันระบบInvisalign
- ขั้นตอนการจัดฟัน
- ค่ารักษาจัดฟัน
- ข้อดี ข้อเสียของการจัดฟัน
- ข้อควรปฏิบัติในระหว่างการจัดฟัน
- วิธีการแปรงฟันและทำความสะอาดฟันในคนไข้จัดฟัน
- ฟันแบบไหนที่ควรจัดฟัน
- จัดฟันควรเริ่มที่อายุเท่าไหร่
- อายุมากสามารถจัดฟันได้หรือไม่
- จัดฟันมีกี่แบบ อะไรบ้าง
- การจัดฟัน เจ็บไหม
- ระหว่างจัดฟันทานอะไรได้บ้าง
- วิธีการทานสำหรับคนไข้จัดฟัน
- จัดฟันหน้าเรียวได้หรือไม่
การจัดฟันระบบDamon
การจัดฟันแบบดามอน (Damon) เป็นการจัดฟันที่ใช้ Bracket ลักษณะพิเศษซึ่งยึดติดกับลวดอ่อนในการจัดฟันด้วยบานเลื่อน แทนการใช้หนังสติก ทำให้ลวดออกแรงกับฟันอย่างช้าๆมีประสิทธิภาพ ออกแรงกับฟันได้นานกว่า จัดฟันได้เร็ว และตึงหรือเจ็บฟันน้อยกว่าการใช้หนังสติ๊กซึ่งออกแรงมากต่อฟันทันที และแรงหมดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้จัดฟันได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เจ็บน้อยลงและระยะห่างในการพบทันตแพทย์แต่ละครั้งนานขึ้น ไม่ต้องพบทันตแพทย์บ่อยๆ ปัจจุบันมีทั้งแบบสีโลหะ และสีใสที่ทำให้เห็นเครื่องมือโลหะน้อยมาก
การจัดฟันระบบInvisalign
การจัดฟันแบบใส Invisalign เป็นการจัดฟันที่ไม่ต้องมีเครื่องมือติดในช่องปาก แต่เป็นการใช้เครื่องมือถอดได้ชนิดใส (Clear Aligner) หลายๆชิ้นซึ่งผลิตขึ้นจากการวางแผนการรักษาในคอมพิวเตอร์สามมิติโดยไล่ระดับการเคลื่อนตัวของฟันไปทีละน้อย การจัดฟันจึงเป็นการค่อยๆเปลี่ยนเครื่องมือถอดได้ชนิดใสนี้ไปเรื่อยๆทีละชิ้น จนฟันเคลื่อนที่ไปตามการวางแผนการรักษาจนฟันมีการเรียงตัวที่ดีและสวยงามตามแผนการรักษา
ขั้นตอนการจัดฟัน
การจัดฟันของทาง PMDC สามารถจัดได้สองระบบคือ Damon system ซึ่งเป็น Bracketร่วมกับการใช้ลวดดัดฟัน และ Invisalign system ซึ่งเป็นการใส่เครื่องมือถอดได้ชนิดใสลงบนฟันบนและล่างและเปลี่ยนเครื่องมือไปเรื่อยๆเพื่อให้ฟันเคลื่อนไปตามแผนการรักษาที่วางไว้
Damon system
- ขั้นตอนการรักษาในระบบ Damon system จะเริ่มจากการพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องการจัดฟัน ทันตแพทย์จะถ่ายรูป Digital พิมพ์ปากและส่งถ่าย Panoramic และ Lateral Cephalometric X-ray จากนั้นจะนัดคนไข้มาฟังแผนการรักษา
- ทันตแพทย์จะอธิบายแผนการรักษาว่าสามารถจัดฟันได้อย่างไรบ้าง เมื่อคนไข้ยอมรับแผนการรักษา ทันตแพทย์จะนัดมาใส่เครื่องมือ Damon ติดแน่นในช่องปาก และจะนัดมาปรับเครื่องมือทุกๆประมาณ 6-8สัปดาห์จนกว่าจะเคลื่อนฟันไปได้ตามแผนการรักษาซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาราว 1-2 ปี
- หลังจากเคลื่อนฟันจนเป็นที่พอใจแล้วทันตแพทย์จะถอดเครื่องมือจัดฟัน Damon และพิมพ์ปากเพื่อทำ Retainer ซึ่งเป็นเครื่องมือกำกับไม่ให้ฟันเคลื่อนตัวไปจากต่ำแหน่งที่จัดไว้ดีแล้ว และให้ใส่อยู่ระยะหนึ่ง หากฟันมีเสถียรภาพของตำแหน่งฟันที่ดีก็จะสามารถหยุดการใช้ Retainerได้ เป็นอันเสร็จการรักษา
Invisalign system
- ขั้นตอนการรักษาของระบบ Invisalign จะเริ่มจากการพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องการจัดฟัน ทันตแพทย์จะถ่ายรูป Digital พิมพ์ปากและส่งถ่าย Panoramic และ Lateral Cephalometric X-ray จากนั้นจะนัดคนไข้มาฟังแผนการรักษา
- ทันตแพทย์จะอธิบายแผนการรรักษาของระบบ Invisalign ว่าสามารถจะจัดฟันได้อย่างไรบ้างหากคนไข้ยอมรับการรักษาทันตแพทย์ก็จะทำการพิมพ์ปากด้วย Intraoral Scanner เพื่อส่งทางบริษัท Invisalign อเมริกาเพื่อทำชิ้นงาน
- จากนั้นเมื่อได้ขั้นตอนการรักษาอย่างละเอียดซึ่งเป็นการวางแผนของทันตแพทย์แต่จัดทำโดยบริษัท Invisalign เรียบร้อยแล้วจะนัดคนไข้เข้ามาดูข้อมูลและรับทราบแผนการรักษาโดยละเอียด เมื่อคนไข้ยอมรับแผนการรักษาแล้วจะอนุมัติให้สร้างขิ้นงานและนัดคนไข้มารับเครื่องมือ Invisalign
- คนไข้เข้ามารับเครื่องมือ Invisalign และอธิบายวิธีการใส่และใช้งาน จากนั้นจะนัดเข้ามาตรวจเครื่องมือเป็นระยะจนกว่าฟันจะเคลื่อนตัวไปตามแผนการรักษา
- เมื่อเคลื่อนฟันจนเป็นที่พอใจของคนไข้ จะทำการพิมพ์ปากเพื่อทำ Retainer และนัดเข้ามารับ Retainer เป็นอันเสร็จสิ้นการรักษา
ค่ารักษาจัดฟัน
เริ่มต้นจัดฟันเพียงเดือนละ 4,000.- (Damon) 30,000.- (Invisalign)
การรักษา |
THB |
1 AUD = 22.85 THB |
1 EURO = 36.96 THB |
1 USD = 34.31 THB |
DURATION |
Damon Low Friction Metal Brackets | |||||
ชำระครั้งแรกเมื่อพิมพ์ปาก ถ่ายรูป และวางแผน |
4,000 |
175 |
108 |
117 |
|
ชำระครั้งที่สองเมื่อติดเครื่องมือจัดฟัน |
30,000 แบ่งชำระ 6 งวด** |
1,313 แบ่งชำระ 6 งวด** |
812 แบ่งชำระ 6 งวด** |
874 แบ่งชำระ 6 งวด** |
|
ชำระครั้งต่อไปทุกๆประมาณสองเดือนที่มาจัดฟัน |
ครั้งละ 2,000 (20 - 30 ครั้ง) |
ครั้งละ 88 (20 - 30 ครั้ง) |
ครั้งละ 54 (20 - 30 ครั้ง) |
ครั้งละ 58 (20 - 30 ครั้ง) |
|
ค่า Retainer |
ฟรี (Free) | ฟรี (Free) | ฟรี (Free) | ฟรี (Free) |
|
รวม |
74,000 - 94,000 | 3,238 - 4,113 | 2,002 - 2,543 | 2,156 - 2,740 |
|
Damon Low Friction Clear Brackets |
|||||
ชำระครั้งแรกเมื่อพิมพ์ปาก ถ่ายรูป และวางแผน |
4,000 |
175 |
108 |
117 |
|
ชำระครั้งที่สองเมื่อติดเครื่องมือจัดฟัน |
40,000 แบ่งชำระ 6 งวด** |
1,750 แบ่งชำระ 6 งวด** |
1,082 แบ่งชำระ 6 งวด** |
1,166 แบ่งชำระ 6 งวด** |
|
ชำระครั้งต่อไปทุกๆประมาณสองเดือนที่มาจัดฟัน |
ครั้งละ 2,000 (20 - 30 ครั้ง) |
ครั้งละ 88 (20 - 30 ครั้ง) |
ครั้งละ 54 (20 - 30 ครั้ง) |
ครั้งละ 58 (20 - 30 ครั้ง) |
|
ค่า Retainer |
ฟรี (Free) |
ฟรี (Free) |
ฟรี (Free) |
ฟรี (Free) |
|
รวม |
84,000 - 104,000 |
3,676 - 4,551 |
2,272 - 2,814 |
2,448 - 3,031 |
|
Invisalign |
|||||
ชำระครั้งแรกเมื่อพิมพ์ปาก ถ่ายรูป และวางแผน |
4,000 |
175 |
108 |
117 |
|
ชำระเมื่อตกลงทำการรักษาและพิมพ์ปากเพื่อส่งทำชิ้นงาน 6 งวด |
งวดละ 30,000*** |
งวดละ 1,313*** |
งวดละ 812*** |
งวดละ 874*** |
|
ชำระครั้งที่สามเมื่อรับทราบแผนการรักษา |
- |
- |
- |
- |
|
ชำระครั้งสุดท้ายเมื่อรับเครื่องมือ Invisalign |
- |
- |
- |
- |
|
รวม |
184,000 |
8,052 |
4,978 |
5,363 |
|
* การเคลียร์ช่องปากก่อนจัดฟัน
ก่อนที่จะใส่เครื่องมือจัดฟันจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจฟันเพื่อ
- ขูดหินปูนและทำความสะอาดฟันให้เรียบร้อยเพื่อให้คนไข้มีสุขภาพเหงือกที่ดีก่อนทำการจัดฟัน ในรายที่เป็นโรคเหงือกจำเป็นที่จะต้องรักษาโรคเหงือกให้เรียบร้อยก่อนที่จะทำการใส่เครื่องมือจัดฟัน
- ตรวจรอยผุในช่องปากและทำการบูรณะฟันให้เรียบร้อยก่อนใส่เครื่องมือจัดฟัน ในระหว่างการจัดฟันหากพบรอยผุเพิ่มเติมจะบูรณะฟันได้ยาก ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องถอดเครื่องมือเพื่อมาบูรณะฟันทำให้การรักษาล่าช้าออกไป การบูรณะฟันส่วนใหญ่ก็เป็นการอุดรอยผุ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการทำครอบฟันซึ่ง อาจทำเป็นครอบพลาสติกแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นครอบถาวรหลังจัดฟันเสร็จ หรืออาจทำเป็นครอบถาวรไปเลยแล้วแต่กรณี
- ถอนฟันซี่ที่ทันตแพทย์จัดฟันวางแผนให้ถอนฟันออก เช่นการผ่าฟันคุดออก หรือถอนฟันกรามน้อยในกรณีที่ต้องการหาเนื้อที่ในการเคลื่อนฟัน เช่นในกรณีที่มีฟันซ้อนเกบริเวณฟันหน้า
ข้อดี ข้อเสียของการจัดฟัน
ข้อดีของการจัดฟัน
- การจัดฟันทำให้ฟันของคนไข้มีสุขภาพฟันและการสบฟันดีขึ้น เนื่องจากก่อนหน้าที่จะมีการจัดฟัน คนไข้จะต้องตรวจเช็คสภาพฟันกับทันตแพทย์ที่จะทำการจัดฟันเช่น การอุดฟัน การผ่าฟันคุด การขุดหินปูน และการรักษาฟันผุ ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพในช่องปากก่อนรับการจัดฟัน
- เมื่อจัดฟันเสร็จแล้วจะทำให้การเคี้ยวหรือการสบฟันดีขึ้นเนื่องจากจริงๆแล้วการจัดฟันจะช่วยทำให้การสบฟันของเราดีขึ้น ซึ่งจะช่วยในการเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น
- การจัดฟันอาจจะมีส่วนในการช่วยทำให้โครงหน้าเปลี่ยนให้ดีขึ้นโดยไม่ต้องผ่านการศัลยกรรม รวมถึงทำให้สร้างบุคลิกภาพของเราให้ดีขึ้น ทำให้คนไข้มีความมั่นใจในการยิ้มมากขึ้น
ข้อเสียของการจัดฟัน
- เมื่อคนไข้จัดฟันแรกจะมีปัญหาที่กินอาหารอะไรแข็งๆหรือเหนียวๆมากไม่ได้ เนื่องจากกลัวตัว Bracket หลุด เวลาจะทำความสะอาดหรือแปรงฟันอาจจะต้องใช้เวลามากกว่าเดิมเพื่อทำให้ฟันสะอาด
- ใช้เวลานานในการจัดฟัน เนื่องจากการจัดฟันจะต้องติดเครื่องมือไว้ตลอดเวลา อาจทำให้มีความรำคาญในเครื่องมือในช่วงแรกๆที่ทำการจัดฟัน
- แปรงฟันยากและใช้เวลานานกว่าปกติ เนื่องจากจะต้องทำการแปรงในช่วงของ Bracket เพิ่มขึ้นด้วยจากปกติ จึงทำให้การแปรงฟันต้องใช้เวลาและให้ความสำคัญมากกว่าคนปกติ ซึ่งถ้าหากคนไข้แปรงฟันหรือรักษาสุขภาพฟันไม่ดี จะมีโอกาสทำให้เกิดฟันผุ ฟันเหลือง และเป็นโรคเหงือกได้ง่ายกว่าคนปกติ
ข้อควรปฏิบัติในระหว่างการจัดฟัน
- ไม่ควรกินอาหารที่มีความเหนียวหรือแข็งมากจนเกินไปเพราะมีโอกาสที่จะทำให้เครื่องมือหลุดและต้องใช้เวลามากขึ้นในการจัดฟัน
- ดูแลรักษาสุขภาพฟันโดยการแปรงฟันให้สะอาด เพื่อให้มีสุขภาพเหงือกที่ดีและไม่มีฟันผุเพิ่มเติมในระหว่างการจัดฟัน และควรทำความสะอาดรอบๆ Bracket ให้ดีเพราะมักพบเสมอๆว่าหลังถอดเครื่องมือจะมีรอยผุ หรือรอย Decalcify เป็นรอยๆขาวๆรอบๆ Bracket ทำให้ฟันไม่สวยงามได้
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์โดยเคร่งครัด เช่นการเกี่ยวยาง การใส่เครื่องมือขยายขากรรไกร การกลืนน้ำลายที่ถูกวิธี เป็นต้น
- มาพบทันตแพทย์ตามระยะการรักษาอย่างเคร่งครัด
วิธีการแปรงฟันและทำความสะอาดฟันในคนไข้จัดฟัน
การแปรงฟันในคนไข้จัดฟันก็เหมือนกับคนไข้โดยทั่วไป แต่จะมีการเพิ่มเติมในการแปรงบริเวณ Bracket และลวดจัดฟัน มีการใช้ Dental Floss ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษเช่น Floss Threader เพื่อนำ Dental Floss ลอดเข้าใต้ลวดก่อนใช้ไหมขัดฟัน และมีการใช้ Proxabrush เพิ่มเติมเพื่อให้ทำความสะอาดบริเวณ Bracket ให้ดียิ่งขึ้น รายละเอียดการแปรงฟันและการทำความสะอาดฟันในคนไข้จัดฟันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. แปรงฟันเหมือนบุคคลทั่วไปตามขั้นตอนต่อไปนี้
- วางแปรงทำมุม 45 องศากับตัวฟันบริเวณขอบเหงือก ขยับแปรงในแนวหน้าหลังสั้นๆเบาๆไม่ให้พ้นซี่ฟัน เพื่อเน้นการทำความสะอาดที่คอฟันและบริเวณขอบเหงือก แล้วปัดแปรงไปทางด้านบดเคี้ยว หรือปลายฟัน แปรงทั้งด้านนอกและด้านในของฟันจนทั่วทั้งปาก
- แปรงฟันด้านบดเคี้ยว โดยวางแปรงบนด้านบดเคี้ยว และแปรงในแนวหน้า-หลัง จนฟันสะอาด
2. แปรงเครื่องมือจัดฟันบริเวณ Bracket และลวด ด้วยการวางขนแปรงลงบน Bracket จากนั้นขยับแปรงหมุนรอบๆ Bracketในช่วงสั้นๆ และเน้นการแปรงเครื่องมือเหนือลวดและใต้ลวดอย่างทั่วถึง จนครบทุกซี่ฟัน
3. ใช้ Proxabrush ช่วยแปรงรอบๆ Bracket ในส่วนที่การแปรงฟันอาจเข้าไม่ถึง
4. ใช้ Dental floss ทำความสะอาดระหว่างซี่ฟัน และอาจใช้ทำความสะอาด Bracket เพิ่มเติม โดยการใช้เครื่องมือ Floss Threader ร้อย Dental floss เข้าใต้ลวดจัดฟัน เพื่อให้ผ่านเข้าไประหว่างซี่ฟันได้
ฟันแบบไหนที่ควรจัดฟัน
จริงๆแล้วในอดีต การจัดฟันจะมุ่งเน้นเพื่อแก้ไขให้คนไข้ที่มีความผิดปกติของการสบฟันให้มีการสบฟันที่ดีเป็นหลัก ซึ่งการสบฟันที่ดีนั้นย่อมทำให้เกิดความสวยงามของฟันและรอยยิ้มควบคู่ไปด้วย ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าการจัดฟันโดยส่วนใหญ่จะมักจะเน้นไปทางด้านความสวยงามมากกว่า และแน่นอนทันตแพทย์จัดฟันที่ดีก็จะมุ่งเน้นให้คนไข้ได้ทั้งความสวยงามของรอยยิ้ม รูปหน้าควบคู่ไปกับการสบฟันที่ดีด้วย ฟันแบบไหนที่ควรจัดฟันก็จะหมายถึงฟันรูปแบบต่างๆที่ไม่สวยงามหรือมีความปกติของการสบฟันดังต่อไปนี้
- ฟันซ้อนเก ไม่ว่าจะในบริเวณฟันหน้าหรือฟันหลัง
- ฟันที่มีช่องห่างระหว่างฟันไม่สวยงาม ในกรณีที่มีช่องห่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากการมีขนาดฟันเล็กในขากรรไกรใหญ่อาจต้องปรึกษาทันตแพทย์ที่ดูแลเรื่องการบูรณะฟันเข้าร่วมด้วย บางครั้งอาจไม่มีความจำเป็นต้องจัดฟัน เพียงแต่สร้างฟันให้ใหญ่ขึ้นเพื่อปิดช่องว่างระหว่างฟัน บางครั้งการจัดฟันให้ช่องระหว่างฟันสมมาตรเหมาะสมก่อนการบูรณะฟันจะทำให้ได้ผลการรักษาที่สวยงามยิ่งขึ้น
- มีฟันบนยื่นกว่าฟันล่างมาก (Class II malocclusion)
- มีฟันล่างยื่นมากกว่าฟันบน (Class III malocclusion)
- มีฟันล่างสบลึกเข้าไปในฟันบน (Deep bite)
- มีฟันหน้าบนและล่างไม่สบกัน (Open bite)
จัดฟันควรเริ่มที่อายุเท่าไหร่
การจัดฟันสามารถเริ่มได้เมื่ออายุครบ 12 ปีซึ่งฟันแท้ขึ้นครบ หากมีอายุตั้งแต่ 6-12 ปีจะเป็นการจัดฟันเพื่อการป้องกันซึ่งมักรักษาโดยทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก และคุณหมอจัดฟันสำหรับเด็ก
อายุมากสามารถจัดฟันได้หรือไม่
ถึงปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถจัดฟันได้ทุกช่วงอายุ แต่ในผู้ที่มีอายุน้อยจะเคลื่อนฟันได้ง่ายกว่า
จัดฟันมีกี่แบบ อะไรบ้าง
การจัดฟันเฉพาะที่นิยมในปัจจุบันอาจแบ่งได้เป็น3กลุ่ม
- กลุ่มที่ใส่ Bracket ร่วมกับการใช้ลวดโดยใช้หนังสติกในการยึด Bracket ติดกับลวด แบบนี้ถือว่าเป็นการจัดฟันแบบดั้งเดิมซึ่งก็มีประสิทธิภาพในการจัดฟัน แต่การจัดฟันอาจจะเจ็บหน่อย และเคลื่อนฟันได้ช้าหน่อย และจำเป็นต้องพบทันตแพทย์บ่อยครั้งประมาณเดือนละครั้ง ทั้งนี้เพราะหนังสติกจะลัดลวดกับ Bracket ด้วยแรงเต็มที่และจะหมด Actionค่อนข้างรวดเร็ว ทำให้เจ็บหน่อยฟันเคลื่อนได้น้อยในการปรับเครื่องมือแต่ละครั้ง และต้องมาพบทันตแพทย์บ่อย
- การจัดฟันระบบ Damon การจัดฟันระบบนี้จะเป็นการใช้ Bracket ร่วมกับการใช้ลวดชนิด Long acting ยึดเข้าด้วยกันอย่างหลวมด้วยบานเปิดปิด ทำให้การเคลื่อนฟันมีประสิทธิภาพ เจ็บน้อย และการปรับฟันแต่ละครั้งอยู่ได้นาน ค่อยๆเคลื่อนฟันไปอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่จำเป็นต้องพบทันตแพทย์บ่อย ประมาณ 2 เดือนต่อครั้ง
- การจัดฟันระบบ Invisalign เป็นการจัดฟันที่ไม่ต้องมีเครื่องมือติดในช่องปาก แต่เป็นการใช้เครื่องมือถอดได้ชนิดใส (Clear Aligner) หลายๆชิ้นซึ่งผลิตขึ้นจากการวางแผนการรักษาในคอมพิวเตอร์สามมิติโดยไล่ระดับการเคลื่อนตัวของฟันไปทีละน้อย การจัดฟันจึงเป็นการค่อยๆเปลี่ยนเครื่องมือถอดได้ชนิดใสนี้ไปเรื่อยๆทีละชิ้น จนฟันเคลื่อนที่ไปตามการวางแผนการรักษาจนฟันมีการเรียงตัวที่ดีและสวยงามตามแผนการรักษา
การจัดฟัน เจ็บไหม
การจัดฟันจะก่อให้เกิดความเจ็บได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้ แต่ก็เป็นการเจ็บที่ไม่มากนัก
- การเจ็บจากการปรับเครื่องมือจัดฟันให้ฟันเคลื่อนไปในทิศทางที่ทันตแพทย์ต้องการ ซึ่งจะมีการเจ็บในลักษณะตึงฟัน อย่างไรก็ดีระบบ Damon ที่เราเลือกใช้จะเจ็บน้อยกว่าระบบธรรมดาทั่วไปที่เป็น Bracket แล้วใช้หนังสติ๊กรัดไว้ เพราะจะออกแรงในครั้งเดียวเลย ส่วน Damon จะเป็นลวด Long acting อยู่ใน Slot ของ Bracket ในลักษณะมีบานปิด ทำให้ออกแรงช้าๆ และออกแรงอยู่ได้นานๆทำให้เจ็บน้อยกว่า
- เจ็บจากการระคายเคืองของเครื่องมือจัดฟันในช่องปากซึ่งอยู่นอกตัวฟันทำให้บาดริมฝีปาก หรือ กระพุ้งแก้ม หรือบางครั้งก็มีลวดแทงกระพุ้งแก้ม ซึ่งแก้ไขด้วยการตัดลวดออก หรือใช้ขี้ผึ้งปิดบรเวณเครื่องมือที่ระคายเคือง การเจ็บในลักษณะนี้ก็ไม่มากมายนัก
ระหว่างจัดฟันทานอะไรได้บ้าง
คนไข้สามารถรับประทานอาหารได้ทุกอย่างแต่ทันตแพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทานอาหารจำพวกของที่เหนียว หรือมีความแข็ง เช่น หมากฝรั่ง ขนมปังที่มีความแข็ง อาหารที่ต้องใช้การกัดแทะ หากเป็นอาหารที่มีความแข็งควรหั่นให้เป็นชิ้นพอดีคำแล้วค่อยรับประทาน
วิธีการทานสำหรับคนไข้จัดฟัน
การทานอาหารสำหรับคนไข้จัดฟันควรรับประทานอาหารอ่อนๆเช่นข้าวต้ม โจ๊ก น้ำแกงต่างๆ แต่ก็สามารถทานอาหารได้ทุกอย่างเช่นกันเพียงแต่พยายามตัดหรือสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ เวลาทานควรทานคำละน้อยๆ และทานอย่างระมัดระวังเพราะบ้างครั้งในอาหารอาจมีก้อนแข็งๆที่เรานึกไม่ถึง ทำให้เครื่องมือเราหลุดได้ ควรทานอย่างยั้งๆไว้บ้างอย่ากัดเต็มแรงมากเกินไป การทานผลไม้ควรระวังพวกเม็ดแข็งๆควรปอกหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆก่อนรับประทาน และสุดท้ายพวกอาหารเหนียวๆกัดไม่ขาดเช่นผัก ปลาหมึก เนื้อเหนียวๆควรหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆก่อนทาน ในช่วงที่มีการปรับเครื่องมือใหม่ๆจะมีอาการปวดตึงฟันให้ทานเบาๆและขอเป็นอาหารอ่อนๆไว้ก่อน หลังจากอาการตึงฟันน้อยลงแล้วจึงทานแข็งขึ้น เหนียวขึ้นได้
จัดฟันให้หน้าเรียวทำได้หรือไม่
จริงๆการจัดฟันไม่ได้มีผลโดยตรงต่อรูปหน้าของคนไข้ แต่ก็ส่งผลต่อรูปหน้าคนไข้ได้เช่นเดียวกัน การจัดฟันมุ่งเน้นให้มีการเรียงตัวของฟัน และการสบฟันที่ดีขึ้น ในการทำดั่งนี้ หากมีการเพิ่มความสูงของใบหน้าส่วนล่าง (Vertical dimension) ของคนไข้ ก็จะทำให้หน้าเรียวขึ้น และหากมีการทำให้ขากรรไกรแคบลงก็จะดูหน้าเรียวขึ้น แต่วัตถุประสงค์หลักคงมุ่งเน้นการจัดฟันให้ฟันอยู่ในลักษณะที่ถูกต้องเป็นหลัก ไม่ใช่คนไข้ทุกคนจะสามารถทำให้หน้าเรียวได้